Blogroll

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เครื่องดนตรีไทย 4 ภาค

เครื่องดนตรีไทย 4 ภาค

เครื่องดนตรีไทยภาคเหนือ



ซึง จัดเป็นดนตรีประเภทเครื่องดีดเป็นเครื่องดนตรีของล้านนาบรรเลง ด้วยการดีดซึงมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ ตัวซึง สายซึง และไม้ดีด ตัวซึงทำด้วยไม้สัก หรือไม้เนื้อแข็ง ซึ่งแบ่งออกเป็นกะโหลกซึงและคันซึง ส่วนที่เป็นกระโหลกซึงตรงด้านล่างจะตอกหมุด สำหรับผูกสายกลางกระโหลกจะเป็นที่สำหรับพาดสายซึง ตัวกล่องเสียงที่ขุดเป็นโพรง มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้ากำหนดระดับเสียงเป็นระยะ ๆ สายทำด้วยโลหะหรือไหมไม้ดีดทำด้วยเขาสัตว์


 
สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทสี สะล้อมีส่วนประกอบ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันสะล้อ ลูกบิด สายละล้อและคันชักกระโหลกทำด้วยกะลามะพร้าวหน้ากระโหลกทำด้วยแผ่นไม้ค่อนข้างบาง กระโหลกสะล้อเจาะเป็นรูปสำหรับสอดใส่คันสะล้อคันสะล้อด้านบนเจารู 2-3 รู สำหรับสอดใส่ลูกบิด สายสะล้อนิยมใช้สายลวดปลายสายด้านล่างผูกยึดไว้กับปลายคันซอด้านล่างคันชักทำด้วยไม้ ขึงด้วยหางม้าเวลาสีมีทวนปักใช้ตั้งกับพื้น (คันชักแยกออกจากตัวสะล้อ)

ตะโลดโป้ด จัดเป็นเครืองดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้า รูปร่างทรงกระบอกยาว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือเนื้ออ่อนหน้ากลองขึงด้วยหนังโยง เร่งเสียงด้วยเชือกหนัง ถ่วงหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมด้วยขี้เถ้า ตีด้วยไม้หุ้มนวม



ปี่จุม เป็นเครื่องดนตรีประเภท เป่าลิ้นเดียว มีส่วนประกอบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ตัวปี่ และลิ้นปี่ ตัวปี่ทำด้วยไม้รวกชนิดหนึ่งด้านบนใกล้ปลายสุดเจาะรูสำหรับสอดใส่ลิ้น ใต้ลงมาเจาะรูสำหรับกดนิ้ว ลิ้นปี่ทำด้วยโลหะนำไปสอดใส่ไว้ในรูลิ้น เวลาเป่า ผู้เป่าจะอมด้านที่มีลิ้น ไว้ในกระพุ้งแก้มในแนวนอน การเป่าลมเข้าหรือออกจะได้โทนเสียงระดับเดียวกัน ปี่สามารถทำเสียงได้ทั้งเป่าและดูดทำให้เสียงดังติดต่อกันไม่ขาดระยะ ปี่ที่นิยมทำมี 4 ขนาด คือ ปี่ใหญ่ ปี่กลาง ปี่ก้อยและปี่ตัด


กลองปูเจ่หรืออุเจ่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี มีลักษณะคล้ายกลองยาว แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวกลองทำด้วยไม้ขนุนไม้ชุมเห็ด ไม้ซื้อ ขึงด้วยหนังหน้าเดียว ท่องหางของกลองกลึงเป็นปล้อง ๆ มีสายสะพายสำหรับคล้องไหล่ เวลาตี มักตีด้วยมือ ประวัติกลองชนิดนี้ เป็นของชาวไทยมาช้านาน ได้แพร่เข้ามาในอาณาจักรล้านนาไทยแต่โบราน

เครื่องดนตรีไทยภาคกลาง



ซอด้วง จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มีส่วนประกอบสำคัญอยู่ 4 ส่วน คือกระโหลก, คันซอ, สายซอและคันชักกระโหลกซอด้วง เป็นรูปทรงกระบอกทำด้วยไม้ประดู่ขึงหน้าด้วยหนังงู มีช่องเสียงอยู่ด้านตรงข้าม คันชักนิยมใช้หางม้า ซอด้วงมีสองสายทำด้วยไหมหรือไนล่อนแต่ปัจจุบันนิยมใช้สายไนล่อน ซอด้วงมีระดับเสียงแหลมเทียบเสียงเป็นคู่ห้าคือเสียง ซอลกับเร


ซออู้ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทสี กระโหลกซอจะทำด้วยกะลามะพร้าว มีสองสายระดับเสียงทุ้มมีรูปทรงโต ป้าน ตัดด้านหน้าของกะลาออกปิดด้วยหนังที่หนากว่าซอด้วง คันทวยทำด้วยไม้เนื้อแข็งตอนบนมีลูกบิดสำหรับขึงสาย สายซออู้ทำด้วยไหมฟั่นมีคันชักอยู่ระหว่างสายเช่นเดียวกับซอด้วง


ระนาดเอก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ลูกระนาดทำมาจากไม้ไผ่ หรือไม้เนื้อแข็งมประมาณ 21-22 ลูก ร้อยติดกันเป็นผืนมีขนาดลดหลั่นกัน แขวนไว้กับรางที่มีรูปร่างคล้ายเรือมีขาตั้งติดกับกล่องเสียงใช้ตีด้วยไม้คู่ ได้แก่ไม้แข็งหรือไม้นวมลูกระนาดปรับเสียงสูงต่ำด้วยตะกั่ว ซึ่งผสมขึ้ผึ้งติดไว้ข้างใต้ลูกระนาดในสุโขทัยเรียกว่า “พาด”



ฆ้องวงใหญ่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เกิดจากการเอาฆ้องหลาย ๆ ใบมาเรียงเข้าชุดบนรางทรงกลมลดหลั่นตามลำดับเสียงทำเป็นทำนองหลักในวงปี่พาทย์และวงมโหรี ลูกฆ้องทำจากโลหะผสมมีปุ่มสำหรับดีอยู่ตรงกลาง เรือนฆ้องทำจากหวายผูกเป็นร้านดัดให้โค้งเป็นวง ๆ หนึ่ง มี 16 ลูก คนตีนั่งอยู่ตรงกลาง ใช้ตะกั่วผสมขี้ผึ้งถ่วงเสียงใต้ลูกฆ้องให้ได้ เสียงตามต้องการโดยตีด้วยไม้หุ้มนวม 1 คู่ ฆ้องวงใหญ่มีเสียงทุ้มดำเนินทำนองหลักเชื่องช้าใช้บรรเลงผสมกับวงปี่พาทย์และวงมโหรี



จะเข้ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดมี 3 สาย แต่เดิมเป็นสายไหม สองสายและสายลวดหนึ่งสาย แต่ปัจจุบันนิยมใช้สายไนลอนแทน ตัวจะเข้ ทำด้วยไม้เนื้ออ่อนเช่น ไม้ขนุนโดยขุดให้เป็นโพลงมีช่องเสียงอยู่ข้างล่าง มีสาย 3 สาย ทำด้วยไหมฟั่นและทองเหลือง


เครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน



พิณ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วน คือ กระโหลก คันพิณ ลูกบิดสาย และไม้ดีดกระโหลกและคันพิณ นิยมทำมาจากไม้ชิ้นเดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นไม้ขนุนหรือไม้ประดู่ กระโหลกของพิณ มีหลายรูปทรง ทั้งรูปกลม รูปเหลี่ยมหรือรูปไข่ กล่องเสียงเป็นสี่เหลี่ยมมนหรือคล้ายใบไม้ สายพิณเดิมทำด้วยสายไหม แต่ปัจจุบันทำด้วยสายลวดมี 2-4 สาย ตอนปลาย ทำเป็นลวดลายหัวพญานาคใช้ดีดด้วยแผ่นบาง ๆ

 
แคน จัดเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดชาวอีสานมีเสียงคล้ายออร์แกน แคนมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เต้าแคน ไม้กู่แคน ลิ้นแคน ขี้สิ่วและมีดเจาะเป็นโพรง เพื่อสอดลูกแคนเรียงไว้ในเต้าแคน เจาะส่วนหน้าเป็นรูปเป่าเพื่อบังคับลมเป่าให้กระจายไปยังลิ้นแคนอย่างทั่วถึง ไม้กู่แคน ทำด้วยไม้ซางหรือไม้รวกเล็ก ๆ ที่มีขนาดและความหนาพอเหมาะและลดหลั่นกัน นำมามาเจาะให้ทะลุข้อ ตัดให้ตรง ตัดให้ได้ขนาดสั้น ยาวไดสัดส่วน เจาะรูสำหรับใส่ลิ้น ลิ้นแคนทำจากโลหะทองแดง หรือทองแดงผสมเงิน นำไปหลอมและนำมาตีเป็นแผ่น ให้ได้ขนาดและความหนาบางตามต้องการ นำมาตัดให้ได้ตามขนาดต่าง ๆ แล้วนำไปสอดใส่ในกู่แคน แต่ละอันตามแผนผังเสียงของแคน



โหวด เป็นเครื่องเป่าไม่มีลิ้น จัดอยู่ในประเภทขลุ่ยแต่โหวดไม่มีรูพับจะมีเสียงลดหลั่นกันตามลักษณะของเสียงดนตรี โหวดประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ ลูกโหวดไม้แกน และขี้สูดลูกโหวดทำจากไม้ซางที่ชาวอีสานเรียกว่าไม้เฮี้ยหรือไม้กู่แกนนำมาตัดให้ได้ขนาดลดหลั่นกันเป็นท่อตามโครงสร้างของเสียงแล้วมาเรียงตัดไว้กับแกนไม้ไผ่โดยใช้ขี้สูดเป็นกาวเชื่อมตัดกันไว้ขี้สูดส่วนหนึ่งใช้อุดรูลูกโหวดด้านล่างเพื่อเป็นเครื่องปรับระดับเสียงและขี้สูดอีกส่วนหนึ่งใช้ติดไว้ที่ตรงหัวของโหวดเพื่อกันกระแทกเวลาโหวดตกกระทบกันปัจจุบันใช้รองปากเวลาเป่าเพื่อหันโหวดไปมาได้สะดวก



โปงลาง หรือขอลอ จัดเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายระนาดส่วนประกอบที่สำคัญคือ ลูกโปงลางซึ่งเดิมมี 5-7 ลูกปัจจุบันนิยมทำเป็น 12 ลูก โปงลางทำด้วยไม้เนื้อแข็งนิยมใช้ไม้หมากเลื่อมและไม้หมากหวด มีขนาดใหญ่โปงลางจะมีเสียง 5 เสียงเท่านั้นเพราะเพลงพื้นบ้านอีสานใช้เพียง 5 เสียง เสียงสูงต่ำตามขนาดของไม้ใช้เชือกร้อยติดกันเป็นผืนนิยมแขวนด้านเสียงต่ำไว้ด้านบนเสียงสูงทอดเอียงลงเวลาตีใช้ผู้ตี 2 คน ๆ หนึ่งตีตามทำนองส่วนอีกคนหนึ่งตีเสียงประสาทหรือเสียงเสพ



พิณไห เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดทำจากไหซองหรือไหกระเทียมทำไหขนาดลดหลั่นตามที่ต้องการมา 3-7 ใบใช้ยางสติ๊กที่ตัดจากยางในรถจักรยานมาจึงไว้ที่ปากไหดีดให้จังหวะเป็นเสียงเสพเวลาเล่นใช้มือดึงเส้นยายนี้ให้สั่นเป็นเสียงทุ้มต่ำแต่ต่อมาผู้ดีดไหเป็นเพียงผู้มาทำท่าดีดแต่งตัวสวยงามมารำเพราะคนชอบดูความสวยงามของคนดีดไหมากกว่าที่จะฟังเสียงพิณไห


เครื่องดนตรีไทยภาคใต้




กลองหนัง รูปร่างลักษณะเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เป็นกลองสองหน้าตัวกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง ข้างในกลวงขึ้นหน้าด้วยหนังวัว หรือ หนังแพะทั้งสองด้าน ตีด้วยไม้ 1 คู่ เวลาตีต้องตั้งกลองไว้ที่พื้น หรือขาตั้ง เพื่อให้ตีได้สะดวก ประวัติมีมาแต่โบราณ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ นิยมใช้ในการละเล่นของภาคใต้ทั่วไป จังหวัดที่นิยมบรรเลง ทุกจังหวัดทางภาคใต้ โอกาสที่บรรเลง งานมงคลและงานอวมงคลทั่วไป


โพน เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้า ตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ตรงกลางตัวกลองด้านบนมีหูโลหะตรึงไว้สำหรับแขวนและตีด้วยไม้ขึงด้วยหนังวัว 2 ด้านประวัติไม่ทราบประวัติที่แน่นอนนิยมตีแข่งขันเสียงดังแต่บางครั้งจะใช้ตีประกอบกับฆ้องเดี่ยวไม่ใช้ประสมวงดนตรีจังหวัดที่นิยมบรรเลงทุกจังหวัดในภาคใต้ โอกาสที่บรรเลงตีเป็นสัญญาณเวลาพระฉันเพลหรือลงโบสถ์ และใช้ตีในขบวนการแห่พระตลอดจนใช้ตีแข่งขันความดังกัน เรียกว่า “จันโพน”



กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองสองหน้ามีลักาณะคล้ายปืดแต่เล็กกว่าตัวกลองทำด้วยไม้เนื้อแข็งหน้ากลองทำด้วยหนังนากหรือหนังเสือปลา วิธีตีกลองจะตีด้วยไม้มีลักษณะรูปโค้ง และใช้มือตีอีกด้านหนัง



ฆ้องคู่ จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีฆ้องแฝด ตัวฆ้องทำด้วยโลหะผสมตีด้วยไม้หุ้มนวมแขวนอยู่ในกลอง ไม้สี่เหลี่ยมเจาะรูให้เสียงออกประวัติ มีเล่นกันมาช้านานแล้วใช้บรรเลงในวงดนตรีประกอบด้วย ทับ กลองหนัง ฉิ่ง ปี่


 
ทับ เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีเป็นกลองหน้าเดียว ทำด้วยไม้เนื้อแข็งชุดหนึ่งมี 2 ใบมีเสียงสูงและเสียงต่ำ ตีสอดสลับกันประวัติใช้มานานแล้ว นิยมใช้ผสมกับกลองตุ๊กสำหรับประกอบการแสดงโนรา



อ้างอิง โดย http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1400

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น