Blogroll

This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ไวรัสในแฟลชไดร์ฟ

วิธีฆ่าไวรัสในแฟลชไดร์ฟ

ในปัจจุบันนี้เราคงปฎิเธสไม่ได้ว่า แฟลชไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งไปแล้ว ซึ่งหลายคนก็ต้องมีพกติดตัวตลอดเวลา พอๆกับการพกโทรศัพท์มือถือ เพราะมันสามารถบันทึกข้อมูลได้เยอะแยะไปหมด ทำให้เราใช้งานง่าย เมื่ออยากได้ข้อมูลที่เครื่องโน้น เครื่องนี้ก็สามรถเสียบแล้วดึงข้อมูลมาได้เลย ซึ่งการกระทำแบบนี้ๆแหละที่ทำให้เจ้าไวรัสตัวร้ายตัวนี้แพร่กระจายไปอย่างง่ายดายหรือเกิน เราจึงต้องหาวิธีการกำจัดเจ้าตัววายร้ายตัวนี้ ก่อนที่มันจะมาทำลายข้อมูลในเครื่องของเรา
 
ก่อนที่เราจะกำจัดไวรัสตัวร้ายตัวนี้ไปจากเราได้นั้น เราก็ต้องรู้ก่อนว่าแฟลชไดร์ฟที่เราใช้งานมันทุกวี่ทุกวันนี้ได้ติดไวรัสมาหรือไม่ ขั้นแรกให้ตรวจเช็คแฟลชไดร์ ตามวิธีต่อไปนี้
  1. กด Shift ค้างขณะเสียบแฟลชไดร์ฟประมาณ 10 วินาที
  2. Double Click ที่ My computer
  3. คลิกขวาที่แฟลชไดร์ฟถ้าปรากฎคำว่า Open อยู่บนสุด แสดงว่า แฟลชไดร์ฟไม่มีไวรัส แต่ถ้าปรากฎคำว่า Auto Play อยู่บนสุดแสดงว่ามีไวรัส หรือ  Double Click  ที่แฟลชไดร์ฟ แล้วปรากฎคำว่า Open with ก็แสดงว่ามีไวรัสอยู่เช่นเดียวกัน
 
เมื่อเราได้ตรวจเช็คแฟลชไดร์ฟแล้ว ปรากฎว่าแฟลชไดร์ฟนั้นมีไวรัส เรามีวิธีฆ่าไวรัสแบบง่ายๆที่ใครก็สามารถทำได้มาฝากกันดังนี้
  1. Double Click เพื่อเปิด My computer ขึ้นมา
  2. Double Click เพื่อเปิด USB Drive
  3. คลิกเลือก Tools
  4. คลิกเลือก Folder Options
  5. เลือก View
  6. คลิกเลือก Show hidden files and folders
  7. คลิกที่ปุ่ม Hide extensions for known file types เพื่อทำการเลือกออก
  8. คลิกที่ปุ่ม Hide protected operating system files เพื่อทำการเลือกออก  กด Apply แล้วกด OK (จะปรากฎ Folder เป็นเงา ๆขึ้น (นั่นคือไวรัส))
  9. คลิกเลือก Recycled system Volume information Autorlin.inf msvcr71.dll (Folder ไวรัสจะปรากฎขึ้น)
  10. กด Delete เพื่อฆ่าไวรัส
  11. ขั้นสุดท้ายนี้คือการตรวจแฟลชไดร์ฟอีกครั้ง  ว่าไวรัสได้หายไปหรือไม่
 
         ข้อควรระวัง ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ คือ เราต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเสมอ เพื่อเป็นการปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเราไม่ควรใช้แฟลชไดร์ฟร่วมกับคนอื่น ถ้าจำเป็นก็ให้ขยันสแกนไวรัส โดยไม่ปล่อยให้มันลุกลาม และมีอาการหนัก  เราขอแนะนำโปรแกรมจัดการกับไวรัส ดังนี้
o      Trend Micro Sysclean Package
o      avast! Virus Cleaner Tool
o      Cureit Scaner for Windows
o      Ad-Aware SE Professional Build 1.06r1
o      ClamWin Free Antivirus Version 0.93.1
o      RemoveIT Pro v4 – SE
เพียงเท่านี้ เราก็ใช้ แฟลชไดร์ฟ อย่างสะบายใจได้แล้ว โดยไม่ต้องคอยระแวงว่า แฟลชไดร์ฟและคอมพิวเตอร์ของคุณจะโดนไวรัสอีกต่อไป

อ้างอิง  http://teen.mthai.com/lifesgood/hitech/1112.html

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

THE IMPOSSIBLE

THE IMPOSSIBLE (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) : 2004 สึนามิ ภูเก็ต
ถ่ายทำในสถานที่จริง นาน 2 ปี ปิดเมืองภูเก็ตถ่ายฉากใหญ่เรียกน้ำตา
สึนามิถล่มกลางเมือง


หลังจากที่สร้างสถิติใหม่ ด้วยการทำรายได้เปิดตัวอย่างถล่มทลายในประเทศสเปนเป็นที่แรกในโลกไปเรียบร้อยแล้ว ภาพยนตร์ THE IMPOSSIBLE (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) หรือชื่อไทยว่า 2004 สึนามิ ภูเก็ต ก็ได้กลายเป็นหนังที่โดนใจทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ จนได้รับเสียงชื่นชมว่า นี่คือภาพยนตร์ที่ควรค่าต่อการชมมากที่สุดในปีนี้ โดยเฉพาะให้จับตาดูการแสดง ของ ยวน แม็กเกรเกอร์ และ นาโอมิ วัตต์ ในหนังเรื่องนี้ไว้ให้ดี เพราะคนทั้งคู่ ได้ฝากการแสดงในระดับสุดยอด ที่ จับหัวใจคนดูเอาไว้อีกด้วย ในฉากที่เรียกได้ว่าเป็นฉากใหญ่ของเรื่อง โดย ฮวน อันโตนิโอ บาโยน่า ผู้กำกับ ได้ถ่ายทำฉากนี้ทั้งหมดในภูเก็ต โดยการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ทั้งเมือง เพื่อใช้เป็นโลเกชั่นฉากจังหวัดภูเก็ตที่ถูกทำลาย โดย มหันตภัยคลื่นยักษ์ สึนามิ ในปี 2004 หนังใช้เวลาการเตรียมงานและถ่ายทำนานกว่า 2 ปี เพื่อที่จะสร้างฉากสึนามิถล่ม ทางทีมงานต้องใช้ทีมสเปเชี่ยลเอฟเฟ็คถึงหกทีม และใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการสร้างฉากที่กินเวลา 10 นาที ที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของหนังและใช้น้ำจำนวนกว่า 35,000 แกลลอนในแต่ละวัน เมื่อรวมกันแล้วจำนวนน้ำที่ถูกใช้ไปเทียบได้กับจำนวนน้ำในมหาสมุทรเลยทีเดียว
The Impossible (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) คือภาพยนตร์ที่สร้างจากเหตุการณ์ที่โลกไม่เคยลืม ของวันที่ 26 ธันวาคม 2004 วันมหาวิปโยคที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญของโลก เมื่อแผ่นดินไหวขนาด 9 ริคเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่มเข้าชายฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยและภายในเวลาเพียงแต่ 10 นาที ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่าห้าพันคน สูญหายอีกกว่าสองพัน และเด็กๆ กว่า 1,400 ชีวิตต้องกลายเป็นลูกกำพร้า นี่คือหายนะทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ โดยหนังสร้างจากเรื่องจริงของครอบครัวชาวอมเริกัน 5 ชีวิต เฮนรี่ มาเรีย สองสามีภรรยาและลูกชายทั้งสามคน ประกอบไปด้วย ลูคัส, ไซม่อน, และ โทมัส ที่เดินทางมาฉลองเทศกาลคริสต์มาส ในปี 2004 ที่ จ.ภูเก็ต และเผชิญหน้ากับมหันตภัยสึนามิในระยะประชิด และแม้จะรอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ แต่ระหว่างทางพวกเขาต้องผ่านการพลัดพรากตามหา และ เผชิญหน้ากับชะตากรรมที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนจนได้กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่ง …… ด้วยสิ่งนำทางเพียงอย่างเดียวที่มีชื่อว่า “พลังใจ”

29 พฤศจิกายนนี้ … เตรียมแรงใจให้พร้อมก่อนเข้าไปชม
THE IMPOSSIBLE (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) : 2004 สึนามิ ภูเก็ต
ทุก โรงภาพยนตร์

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU)
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น

CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที
 
กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation
 
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เคส คอมพิวเตอร์

เคส คอมพิวเตอร์ – computer case

 

เคส คอมพิวเตอร์ ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ เอาไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
ชนิดของ เคส คอมพิวเตอร์
ชนิดของ เคสคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะแบ่งตามขนาด และลักษณะของมัน ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
•  ประเภทวางยืน หรือ Tower
•  ประเภทวางนอน หรือ Desktop บางทีเราก็เรียกว่าแบบตั้งโต๊ะ แต่ก็อาจจะสับสนกับประเภทแรก เพราะตั้งบนโต๊ะเหมือนกัน
ประเภท วางยืน หรือ ทาวเวอร์ – Tower
ประเภทนี้ยังแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก คือ
•  มินิทาวเวอร์ – Mini Tower
ข้อดีของประเภทนี้ คือ มีขนาดกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย คือจะ เพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะพื้นที่ภายในแคบ อาจจะใส่ฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว หรือเพิ่มการ์ดต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตาม เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้มักจะได้รับความนิยมในสำนักงาน เพราะประหยัดพื้นที่ ขณะเดียวกัน งานในสำนักงานก็มักเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ขีดความสามารถของเครื่อง คอมพิวเตอร์ สูงอยู่แล้ว
•  มิดทาวเวอร์ – Mid Tower
เคส รุ่นนี้ เป็น เคส ขนาดกลาง ซึ่งจะมีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่เกินไป ยังเหมาะสมที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ รุ่นนี้มักเป็นที่นิยมของผู้ประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง หรือจ้างให้ร้านประกอบให้ แม้กระทั่งในสำนักงานก็ยังนิยมใช้รุ่นนี้เหมือนกัน
•  ฟูล ทาวเวอร์ – Full Tower
เป็น เคสคอมพิวเตอร์ รุ่นใหญ่ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้ เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย ข้อเสียของมันคือมีขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยจะเหมาะที่จะวางบนโต๊ะ ผู้ใช้จึงมักหาที่วางใต้โต๊ะ หรือข้างโต๊ะ เคสคอมพิวเตอร์ ขนาด นี้ยังเอาไปทำเป็นเครื่อง เซอร์เวอร์ (Server) สำหรับบริการเครื่อง คอมพิวเตอร์ อื่น ๆ ด้วย
ประเภทเดสก์ทอป – Desktop
วัตถุประสงค์ของ เคส ประเภท นี้ เพื่อประหยัดพื้นที่ โดยเอาจอภาพวางซ้อนด้านบน ข้อเสียของมันคือจะเพิ่มเติมอุปกรณ์อีกแทบไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม เคส ประเภทนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในธุรกิจต่าง ๆ อยู่ เฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนเคาน์เตอร์ หรืออยู่บนโต๊ะขนาดเล็ก
สลิม เดสก์ทอป – Slim Desktop
เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ มักใช้ในหน่วยงานขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ คอมพิวเตอร์ จำนวนมาก การออกแบบระบบ คอมพิวเตอร์ ก็ให้ประมวลผลที่เครื่อง เซอร์เวอร์ หรือ เมนเฟรม การเก็บข้อมูลก็เก็บที่ศูนย์ข้อมูล แทนที่จะเก็บที่เครื่องลูก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมาย และสามารถประหยัดการลงทุนกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ได้มาก เมนบอร์ดและซีพียู ก็อาจใช้ประเภทขนาดเล็ก กินไฟน้อย อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจรวมเป็นชิ้นเดียว บนเมนบอร์ดเลย ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครื่อง workstation มากกว่าที่จะเรียก PC หรือ Personal Computer

อ้างอิง http://www.enlight.co.th/index.php?option=com_content&task=view&id=64

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รูปแบบหนังสือราชการ

รูปแบบหนังสือราชการ


หนังสือภายนอก
 
หนังสือภายใน
 
หนังสือประทับตราแทนการลงชื่อ
 
หนังสือสั่งการ - คำสั่ง

หนังสือสั่งการ - ระเบียบ
 
หนังสือสั่งการ - ข้อบังคับ

หนังสือประชาสัมพันธ์ - ประกาศ
 
ตัวอย่างการจ่าหน้าซองจดหมายส่งผู้รับในประเทศ
 
 
ตัวอย่างการจ่าหน้าซองจดหมายส่งผู้รับในต่างประเทศ

อ้างอิง http://www.cad.go.th/ewtadmin/ewt/workflow/main.php?filename=Form_document_CAD

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ถั่ว

ถั่ว คือ พืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae จัดแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
  1. ถั่วฝัก (Bean) เป็นถั่วในฝักที่มีเมล็ดไม่กลม กินได้ทั้งฝัก เช่น ถั่วแขก ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วแปบ หรือกินเฉพาะเมล็ด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วปากอ้า
  2. ถั่วฝักเมล็ดกลม (Pea) เป็นถัวในฝักที่มีเมล็ดกลม กินฝักสดที่ยังไม่แก่เต็มที่ บางครั้งเรียกว่า Green Pea เช่น ถั่วลันเตา ถั่วชิกพี
  3. ถั่วเมล็ดแบน (Lentil) ลักษณะเมล็ดแบนเล็กเหมือนนัยน์ตาคน มีหลายสี เช่น เขียว น้ำตาล
นอกจากนี้เมล็ดของถั่วทั้ง 3 กลุ่มยังแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
  1. ถั่วน้ำมัน (Oilseed legume) คือ ชนิดที่มีโปรตีนและไขมันสูง ซึ่งจะสะสมพลังงานในรูปไขมัน ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง
  2. ถั่ว Pulse คือ ชนิดที่มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ ซึ่งสะสมพลังงานในรูปของคาร์โบไฮเดรต และเมล็ดมีแป้งสูง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วแดงหลวง ถั่วพุ่ม ถั่วลาย ถั่วปากอ้า ฯลฯ
ถั่วเปลือกแข็ง (Nut) ได้แก่ ส่วนเม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ พิสทาชิโอ วอลนัท แมคาเดเมีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูง มีเปลือกผลแข็งมาก แม้ “นัท” จะมีโปรตีนน้อยกว่าถั่วเมล็ดแห้งแต่นัทเกือบทุกชนิดโดยเฉพาะอัลมอนด์อุดมไปด้วยแมกนีเซียมสูง ซึ่งในถัวเมล็ดแห้งนั้นมีเพียงน้อยนิด
 

 ประโยชน์

  1. เปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งมีหลากสี เช่น เขียว ดำ แดง น้ำตาลส้ม ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ โครงสร้างของเปลือกถัวและเนื้อในเมล็ดมีใยอาหารปริมาณสูง ซึ่งมีทั้งแบบที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้
    • ชนิดไม่ละลายในน้ำ จะช่วยเพิ่มกากใยและอุ้มน้ำ ทำให้อุจจาระนิ่มและขับถ่ายเป็นปกติ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และริดสีดวงทวาร
    • ชนิดละลายในน้ำ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะใยอาหารชนิดนี้จับตัวกับน้ำได้ดีซึ่งมีคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบแล้วขับออกจากร่างกายมากขึ้น ทำให้ร่างกานใช้คอเลสเตอรอลที่มีอยู่มาสร้างน้ำดีเพื่อทดแทน ผลก็คือจะไปช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดในสมองแตก
  2. เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) คือ อาหารที่สะสมที่อยู่ในเมล็ดถัวเป็นส่วนสำคัญในการงอกของเมล็ดเป็นต้นอ่อน ซึ่งบรรจุสารอาหารที่มีคุณค่าไว้มากมาย เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน แร่ธาตุบางชนิด เอนไซม์
    • คาร์โบไฮเดรต จะสะสมอยู่ในรูปของแป้ง เมื่อรับประทานถัวร่างกายจะย่อยแป้งที่มีอยู่นถั่วและดูดซึมน้ำตาลที่ได้ไปใช้อย่างช้าๆ ทำให้มีกลูโคสลำเลียงเข้าไปในเลือดอย่างสม่ำเสมอ การกินถัวเมล็ดแห้งจึงเป็นผลดีต่อผู้ที่เป็นเบาหวานเพราะทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดียิ่งขึ้น
    • ไขมัน ในถั่วมีไขมันค่อนข้างต่ำ ยกเว้นถั่วเหลืองที่มีไขมันสูงถึง 30-35% แต่ไขมันดังกล่าวจะมีปริมาณของไขมันคุณภาพดี เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวค่อนข้างสูง ได้แก่ กรดไลโนเลอิกและกรดโอเลอิก ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ผิวหนัง ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด และจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารกและเด็ก น้ำมันถั่วเหลืองจึงเป็นน้ำมันพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณภาพ
    • โปรตีน โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์ ฮอร์โมน โลหิต และความเหลวที่อยู่ภายในเซลล์ คุณภาพของโปรตีนจึงต้องเลือกสรรอย่างพิถีพิถัน ในเมล็ดถั่วเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแม้ว่าหลายๆ คนจะบอกว่าคุณภาพโปรตีนจะด้อยกว่าในเนื้อสัตว์ แต่ร่างกายคนเราต้องการโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดแอมิโนที่จำเป็นอยู่ 10 ชนิด ซึ่งร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ซึ่งในเมล็ดถั่วมีกรดแอมิโนทั้งสิบชนิดไม่แตกต่างจากเนื้อสัตว์เพียงแต่มีปริมาณของกรดแอมิโนบางชนิดน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการบริโภคโปรตีนจากถั่วต้องรับประทานธัญพืชอย่างอื่นเสริมด้วยซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนตามต้องการ โปรตีนจากเนื้อสัตว์นอกจากจะมีโปรตีนแล้วยังมีไขมันอิ่มตัวแทรกอยู่ในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีคอเลสเตอรอลสูง
  3. เอนไซม์และแร่ธาตุ เอนไซม์ที่มีอยู่ในถัวเมล็ดแห้งจะเป็นเอนไซม์ที่ยังไม่ทำงานกระทั่งเมื่อได้รับน้ำและออกซิเจนจึงจะเริ่มทำงาน ช่วยให้เมล็ดถั่วงอกเป็นต้นอ่อน เมล็ดถั่วยังมีแร่ธาตุต่างๆ อาทิ แคลเซียม พบมากในถั่วเหลือง เป็นต้น
อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%96%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7

Google คืออะไร

เว็บไซต์ Google (www.Google.com) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล
       เว็บไซต์ Google แบ่งหมวดหมู่ของการค้นหาออกเป็น 4 หมวดหมู่ด้วยกัน ดังนี้คือ
เว็บ (Web)เป็นการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการ
แสดงผลจะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำที่เป็น Keyword อยู่ภายเว็บไซต์นั้น
รูปภาพ (Images)เป็นการค้นหารูปภาพจากการแปลคำ Keyword
กลุ่มข่าว (News)เป็นการค้นหาข้อมูลที่เป็นเนื้อหาที่อยู่ในข่าว
ซึ่งมีการระบุชื่อผู้เขียนข่าว,หัวข้อข่าว, วันที่และเวลาที่โพสต์ข่าว
สารบบเว็บ (Web Directory)Google มีการจัดประเภทของเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งเราสามารถค้นหาเว็บในเรื่องที่ต้องการตามหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วได้เลย
วิธีการใช้งาน Google ค้นหาข้อมูลแบบติดจรวด
        การค้นหาโดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะใช้คำ Keyword เป็นเครื่องมือในการนำทางการค้นหาอย่างเดียว แต่ถ้าเรารู้จักใช้เครื่องหมายบางตัวร่วมด้วย ก็จะทำให้ขอบเขตการค้นหาของ Google แคบลง ทำให้เราได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น เครื่องหมายที่สามารถนำมาช่วยในการค้นหาได้ มีดังนี้
        การค้นหาด้วยเครื่องหมายบวก (+) เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นตัวเชื่อม เพราะโดยหลักการทำงานของ Google แล้ว Google จะไม่ค้นหาคำประเภทตัวเชื่อม เช่น at, with, on, what, when, where, how, the, to, of ถึงแม้ว่าเราจะมีการระบุเหล่านี้ลงใน Keyword ด้วยก็ตาม
        ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ Google ทำการค้นหาคำเหล่านี้ด้วย เนื่องจากเป็นคำสำคัญของประโยคที่เราต้องการ สามารถใช้เครื่องหมาย + ช่วยได้ โดยมีเงื่อนไข ว่า ก่อนหน้าเครื่องหมาย + ต้องมีการเว้นวรรค 1 เคาะด้วย เช่น ถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมส์ที่มีชื่อว่า Age of Empire ถ้าเราพิมพ์ Keyword ...Age of Empire… Google จะทำการค้นหาแยกคำโดยไม่สนใจ of คืออาจจะค้นหา Age หรือ Empire แค่ตัวเดียว แต่ถ้าเราระบุว่า Age +of Empire Google จะทำการค้นหาทั้งคำว่า Age, of และ Empire เป็นต้น
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (+)
        การค้นหาด้วยเครื่องหมายลบ ( - ) จะช่วยให้เราสามารถตัดเรื่องที่เราไม่ต้องการ หรือไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่ต้องการ การล่องแก่งที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดตาก ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง -ตาก (เช่นเดียวกับเครื่องหมาย + ต้องเว้นวรรคก่อนหน้าเครื่องหมายด้วย) Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่มีจังหวัดตากเข้ามาเกี่ยวข้อง
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (-)
        การค้นหาด้วยเครื่องหมายคำพูด ("...") เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นประโยควลี ที่เราต้องการให้มันแสดงผลทุกคำในประโยค โดยไม่แยกคำ เช่น ถ้าเราต้องการหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเพลงที่มีชื่อว่า If I Let You Go ให้พิมพ์ว่า "If I Let You Go" Google จะทำการค้นหาประโยค "If I Let You Go" ทั้งประโยคโดยไม่แยกคำค้นหา
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข ("...")
        การค้นหาด้วยคำว่า OR เป็นการสั่งให้ Google ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง ทั้งในจังหวัดตาก และปราจีนบุรี ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง ตาก OR ปราจีนบุรี Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่งทั้งในจังหวัดตาก และกาญจนบุรี
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (OR)
ตัวอย่างการใช้งาน แบบที่ 1
ตัวอย่างการใช้งาน แบบที่ 2
ภาพตัวอย่างวิธีการใช้งาน Google ของผู้เริ่มต้น


วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลือ! PlayStation 4 อาจเปิดตัว 20 กุมภาพันธ์ 2013

PlayStation 4

Sony ประกาศงานเปิดตัวเกี่ยวกับเครื่องเกมส์ PlayStation ในทิศทางใหม่ วันที่ 20 ก.พ. 2013 ลือ อาจเป็น PS4

Sony เปิดเผยการประกาศเกี่ยวกับ PlayStation รุ่นต่อไป ซึ่งมีกำหนดประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2013 นี้ และในงานวันนั้นจะออกอากาศถ่ายทอดสดทั่วโลกด้วย


ด้านหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal รายงานระบุ ผู้เล่นเกมส์อาจคาดการณ์กันว่า งานที่ Sony เปิดตัวนั้น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าจะเปิดตัวเครื่องเล่นเกมส์ PlayStation 4 หรือ Orbis ชื่อเรียกโปรเจคเครื่องเกมส์ รวมทั้งมีน้ำหนักเรื่องกระแสข่าวที่มีการเปิดเผยเรื่องสเปคเครื่องเกมส์ออกมาสู่สาธารณะอยู่เรื่อยๆ และคาดว่า PS4 จะวางขายช่วงปลายปี 2013 นี้

ล่าสุด มีการอัพเดตว่า Sony มีแผนกำลังรวมเรื่อง Social Gaming เข้าไปยังเครื่องเล่นเกมส์ตัวใหม่ และพุ่งเป้าตรงที่สามารถโต้ตอบการเล่นเกมส์ผ่านเครื่องเกมส์ ตัวจอยเกมส์มีการออกแบบสามารถทัชสกรีนและบังคับจอยเหมือนกับ PS Vita ได้ด้วย


ด้านกระแสข่าวเครื่องเกมส์ PlayStation 4 มีการเปิดเผยว่า จะใช้ซีพียูแบบ 8 core มีความเร็ว 1.6 GHz, ใช้กราฟิกการ์ดแบบปรับแต่งพิเศษของ Radeon GPU วิ่งความเร็วที่ 800 MHz ด้านสถาปัตยกรรมเครื่องเกมส์จะอิงจากเทคโนโลยี Jaguar เพื่อออกแบบการใช้พลังงานต่ำ

ด้านกราฟิกการ์ดของ Radeon ที่เป็นลักษณะ GPU นั้น จะอิงจากการ์ดจอ Radeon 7970M มีพลังงาน 1.84 teraflops นอกจากนี้ CPU กับ GPU คาดการณ์ว่าจะใช้ฮาร์ดแวร์ตัวอื่นภายในเครื่องเพิ่มระดับประสิทธิภาพการใช้งาน เพื่อผูกกับซีพียู 8 core ของ AMD

ด้าน RAM เครื่องเกมส์ PS4 คาดการณ์ว่าจะใช้ RAM จำนวน 4 GB แบบ GDDR5 ที่เพิ่มความสามารถด้านความเร็ว แต่จะจองพื้นที่หน่วยความจำอยู่ที่ 512 MB เพราะว่าตัวระบบปฏิบัติการของเครื่องเกมส์ใช้หน่วยความจำค่อนข้างน้อย

สำหรับ PlayStation 4 มีการระบุว่า จะเป็นเครื่องเกมส์ที่มอบประสิทธิภาพการเล่นอย่างสูงสุด และมีศักยภาพอย่างเปี่ยมล้นที่รองรับการเล่นเกมส์ได้อย่างยาวนาน




อ้างอิง http://www.soccersuck.com/soccer/viewtopic.php?p=19799287&sid=b5bda8808e5619b46b85bbaab07acbec

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Resident Evil 6

Resident Evil 6 บุก PC 22 มีนาคม 2013 !!
Resident Evil 6
ข่าวดีของแฟนๆเกมส์ผีชีวะชาว PC มาเสียที เมื่อ Capcom ประกาศกำหนดวันวางจำหน่ายของ Resident Evil 6 เวอร์ชั่น PC ออกมาให้ชื่นใจกันแล้ว คือวันที่ 22 มีนาคม 2013 แม้ว่าจะต้องรอคอยกันถึงเกือบครึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกเวอร์ชั่นคอนโซลไป แต่ก็ยังดีที่ทาง Capcom ไม่ลืมว่า เกมส์เมอร์พีซีนั้นมีจำนวนมากที่สุดในโลก (แม้ว่ายอดขายจะไม่ได้มากที่สุดตามไปด้วยก็เถอะ) สำหรับแพคเกจการขายนั้น ทาง Capcom จะเน้นไปที่การขายในแบบ Digital Download เป็นหลัก ซึ่งก็จะมีทั้งทาง Steam และอื่นๆ ทั้งเวอร์ชั่นยุโรปและอเมริกา ส่วนแพคเกจแบบแผ่นเกมส์นั้น ทาง Capcom จะทำมาขายเพียงที่ยุโรปเท่านั้น เวอร์ชั่นอเมริกาจะมีแต่แบบดาวน์โหลด

รายละเอียดเพิ่มเติมของ Resident Evil 6 เวอร์ชั่น PC ก็จะมีการอัพเดตคอนเท้นต์ DLC ฟรีที่คอนโซลอัพเดตไปแล้วครบถ้วน อย่างเช่น DLC ปลดล็อคโหมด ADA พร้อมคู่หูมาให้เล่นได้ทันทีตั้งแต่เริ่ม โดยที่ไม่จำเป็นต้องเล่นจบ Chapter อื่นๆก่อน และยังปลดล็อคโหมดการเล่นแบบโคตรยากสุดๆ No Hope มาให้เล่นตั้งแต่ต้นด้วย กับมุมกล้องแบบใหม่ที่ซูมกว้างขึ้นด้วย สำหรับใครที่อยากลองของก็เชิญได้
ฟังค์ชั่นอื่นๆของ Resident Evil 6 เวอร์ชั่น PC
· Cloud saving
· Steam Achievements
· Friends support
· Game overlay
· Leader boards
Resident Evil 6

สเปกเครื่อง PC ขั้นต่ำที่ต้องการ
· OS: Windows Vista/XP, Windows 7, Windows 8
· Processor: Intel CoreTM2 Duo 2.4 Ghz or better, AMD AthlonTM X2 2.8 Ghz or better
· Memory: 2 GB RAM
· Hard Disk Space: 16 GB free hard drive space
· Video Card: NVIDIA GeForce 8800GTS or better
· DirectX: 9.0c or greater
· Sound: Standard audio device

สเปกเครื่อง PC ที่แนะนำ
· OS: Windows Vista/XP, Windows 7, Windows 8
· Processor: Intel CoreTM 2 Quad 2.7 Ghz or better, AMD PhenomTM II X4 3 Ghz or better
· Memory: 4 GB RAM
· Hard Disk Space: 16 GB free hard drive space
· Video Card: NVIDIA GeForce GTX 560 or better
· DirectX: 9.0c or greater
· Sound: Standard audio device
Resident Evil 6
Resident Evil 6
Resident Evil 6


ข้อมูลอ้างอิงจาก
  • http://www.allgamesbeta.com/2012/12/resident-evil-6-for-pc-releases-march-22.html

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

5 อาหารไทย

 

5 อาหารไทย ติดใจคนทั่วโลก




ต้มยำกุ้งสูตรประยุกต์
       ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใดๆ ในโลก ก็มักจะมีอาหารประจำชาติอันเป็นที่เชิดหน้าชูตาของตนเอง ในส่วนของประเทศไทยนั้นก็เช่นเดียวกัน อาหารไทยถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติอย่างหนึ่งที่ได้รับการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างยาวนาน
     
       นอกจากจะเป็นอาหารของคนไทยแล้ว อาหารไทยก็ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติอีกเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากผลสำรวจ 50 อาหารอร่อยที่สุดในโลกประจำปี 2554 โดย CNNGO ผลปรากฏว่า มีอาหารไทยติดอันดับหลายเมนู ได้แก่ อันดับที่ 1 แกงมัสมั่น อันดับที่ 8 ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 19 น้ำตกหมู และอันดับที่ 46 ส้มตำ หรือแม้แต่แทบลอยด์ชื่อดังของประเทศอังกฤษ “เดอะซัน” ก็มีการสำรวจในเฟซบุ๊ค ถึง 100 สิ่งที่ควรกินก่อนตาย ยังพบว่ามีอาหารไทยติดอันดับด้วยเช่นกัน ได้แก่ ส้มตำ ต้มยำ ทุเรียน กล้วยทอด และผักกระเฉด
     
       รสชาติของอาหารไทยนั้น มีความแตกต่างและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร โดย สันติ เศวตวิมล นักชิมชื่อดัง ให้ความเห็นไว้ว่า อาหารในโลกนั้นมีเพียงไม่กี่ประเทศที่จะมีรสชาติหลากหลาย หรือมากกว่า 4 รสชาติ แต่สำหรับอาหารไทยนั้นถ้าจะพูดจริงๆ ก็มีถึง 9 รสชาติ
     
       “อาหารที่เรากินมีพื้นฐานอยู่ 4 รส คือ เค็ม เผ็ด หวาน และเปรี้ยว ส่วนอาหารไทยจะมีรสชาติเพิ่มเติมอีก คือ ขม ขื่น ฝาด เฝื่อน และปร่า ธรรมชาติสร้างให้คนแต่ละประเทศมีความสามารถแตกต่างกันไป ผมคิดว่าธรรมชาติสร้างให้คนไทยมีลิ้นอันวิเศษ สามารถแยกรสชาติได้ดีมาก นอกจากนั้น คนไทยก็โชคดีที่อยู่กึ่งกลางระหว่างสองวัฒนธรรมใหญ่ของโลก คือ วัฒนธรรมอินเดีย และวัฒนธรรมจีน อาหารจีนจะเป็นอาหารแบบธรรมชาติ ส่วนอินเดียจะเน้นความจัดจ้านและเครื่องเทศต่างๆ จึงทำให้คนไทยนำทั้งสองอย่างนี้มาผสมผสานกัน”
       
       
สำหรับอาหารไทยซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวโลกนั้นก็มีหลากหลายเมนู แต่ต้องขอเลือกมาเพียง 5 เมนู ที่ชาวต่างชาติจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี ดังนี้
      
       
ต้มยำกุ้ง
       

       “ต้มยำกุ้ง” ถือเป็นเมนูแรกๆ ที่ชาวโลกพูดถึงหากมีหัวข้อเกี่ยวกับอาหารไทย โดยต้มยำนั้นถือเป็นอาหารประเภทแกง เน้นรสเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก ผสมกับความเค็มและหวานเล็กน้อย ส่วนใหญ่แล้วคนจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำที่ใส่เนื้อสัตว์ชนิดอื่น
     
       ต้มยำกุ้งจะมี 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใส และต้มยำน้ำข้น ซึ่ง สันติ ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า ต้มยำโบราณจริงๆ นั้นไม่ได้ใส่น้ำพริกเผาเหมือนในทุกวันนี้ และจะเป็นต้มยำน้ำใส ที่ใส่มันกุ้งให้ดูสวยงามและเพิ่มรสชาติ ในช่วงหลัง เริ่มหามันกุ้งได้ยากขึ้นเพราะคนกินเยอะ เลยประยุกต์ใส่น้ำพริกเผาลงไปแทนเพื่อให้สีสันสวยงาม และยังมีการใส่กะทิ หรือนมสด ลงไปในต้มยำในภายหลัง ถือเป็นการดัดแปลงและพัฒนาจากน้ำใสมาเป็นน้ำข้น ส่วนความหวาน เดิมจะได้รสหวานมาจากความสดของกุ้ง แต่ปัจจุบันใส่ทั้งน้ำพริกเผา นมสด และน้ำตาล เพื่อให้ได้รสหวานมากขึ้น จนไม่ใช่รสชาติดั้งเดิมของต้มยำกุ้ง
        
       
ส้มตำรสจัดจ้าน
       ส้มตำ
       

       คนมักจะเข้าใจว่า “ส้มตำ” เป็นอาหารพื้นเมืองของภาคอีสาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ส้มตำเป็นอาหารที่ถือกำเนิดขึ้นในภาคกลาง ซึ่งในสมัยก่อนนั้น ในประเทศไทยไม่ได้ปลูกต้นมะละกอ แต่มะละกอมีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ จากนั้นก็ถูกเผยแพร่เข้ามาสู่ทวีปเอเชีย และมีอยู่ที่เมืองมะละกาเป็นหลัก ภายหลังก็ถูกเผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทย โดยคนไทยเองก็เข้าใจว่าพืชชนิดนี้มาจากมะละกา จึงมีการเรียกชื่อเพี้ยนมาเป็นมะละกอ เหมือนในปัจจุบัน
              
       “คนไทยเราตำมะละกอที่เรียกว่าส้มตำมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากได้มะละกอและพริก ซึ่งมาจากอเมริกาใต้เหมือนกัน นำมาตำพร้อมๆ กัน และสมัยก่อนก็ยังไม่มีการใส่ปลาร้า ใส่มะกอก แต่จะตำแบบไทยๆ คือ ใส่มะนาวและน้ำตาลปี๊บ เพราะคนไทยกินรสเปรี้ยวหวาน ส่วนส้มตำไทยแท้ๆ ก็จะใส่กุ้งแห้ง และถั่วลิสงด้วย แต่พอคนอีสานมาเห็นส้มตำไทย ก็ปรับเปลี่ยนรสชาติตามที่ชอบ คือ คนอีสานจะกินรสเค็มเผ็ด จึงไม่ใส่น้ำตาล และใส่ปลาร้าเพิ่มเติม” สันติ กล่าว
              
       นอกจากส้มตำแบบพื้นฐานแล้ว ก็ยังมีการประยุกต์ส้มตำให้เป็นไปตามแบบของแต่ละท้องถิ่น หรือตามรสชาติที่ชอบอีกด้วย อาทิ ส้มตำปูปลาร้า ตำซั่ว ตำป่า ตำไข่เค็ม ส้มตำหอยดอง และส้มตำปูม้า หรือจะนำผัก-ผลไม้อื่นๆ มาใช้แทนมะละกอ เช่น ตำมะม่วง ตำกล้วย ตำแตง ตำถั่ว เป็นต้น
ผัดไทย
       ผัดไทย
       

       “ผัดไทย” เป็นอาหารอีกจานที่คนต่างชาติรู้จักกันมาก เนื่องจากชื่ออาหารที่เรียกง่าย และบ่งบอกความเป็นอาหารไทยได้อย่างชัดเจน เมื่อเร็วๆ นี้
Hotels.com เว็บไซต์ด้านโรงแรมและการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของโลก ได้สำรวจอาหารชาติต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวนิยมกินมากที่สุดระหว่างการเดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างแดน ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดอันดับที่ 7 และเมนู “ผัดไทย” ก็ถือเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบรรดาอาหารไทย
              
       อันที่จริงแล้วผัดไทยนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ และเป็นหนึ่งในอาหารจำพวกก๋วยเตี๋ยวผัด แต่เริ่มเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากขึ้นในสมัยของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งเป็นช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จากสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีการรณรงค์ให้หันมานิยมกินก๋วยเตี๋ยวแทน เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ และยังมีการเปลี่ยนชื่อให้เป็น “ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” เพื่อเน้นความนิยมไทยอีกด้วย
               
       
แกงเขียวหวาน
       

       “แกงเขียวหวาน” เป็นแกงกะทิที่ถูกพัฒนามาจากแกงเผ็ดแบบดั้งเดิม คือ แกงเผ็ดจะใช้พริกแห้งสีแดงเป็นส่วนผสม จากนั้นก็เปลี่ยนมาใช้พริกสดสีเขียว และใส่ใบพริกสดตำลงไปพร้อมกับเครื่องแกงด้วย เพื่อให้มีสีเขียวที่เด่นชัดขึ้น
              
       ชื่อแกงเขียวหวานมีที่มาจากสีเขียวของเครื่องแกง แต่คำว่า “หวาน” นั้น ไม่ได้หมายถึงรสชาติของอาหารแต่อย่างใด กลับหมายถึงเป็นแกงที่มีสีเขียวแบบหวาน คือเขียวนวลๆ ไม่ฉูดฉาด ส่วนรสชาติของเมนูนี้จะเน้นเค็มนำ แล้วหวานตาม และจะมีความเผ็ดมากกว่าแกงเผ็ดชนิดอื่นเล็กน้อย เพราะใช้พริกสดเป็นเครื่องแกง
              
       และจากกรณีที่มีข่าวฟอร์เวิร์ดว่า พ่อครัวชาวอเมริกันได้จดสิทธิบัตรแกงเขียวหวาน ซึ่งเป็นอาหารของคนไทย ในภายหลังได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่า ไม่เป็นความจริง ยังไม่มีชาวต่างชาติจดสิทธิบัตรแกงเขียวหวานเป็นของตนเอง และการจดสิทธิบัตรแกงเขียวหวานนั้นมีเพียงคนไทยเท่านั้นที่เป็นผู้ยื่นคำขอจดสิทธิบัตร ดังนั้น แกงเขียวหวานก็ยังคงเป็นอาหารของไทยต่อไป
แกงเขียวหวาน
       มัสมั่น
       

       “มัสมั่น” ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก จากการสำรวจของเว็บไซต์ CNNGO ซึ่งก็กลายเป็นเมนูอาหารไทยที่ได้รับความนิยมในต่างแดนไปแล้ว แม้ว่าปัจจุบัน มัสมั่นจะมีสัญชาติเป็นอาหารไทย แต่จุดเริ่มต้นของมัสมั่นนั้นต้นตำรับมาจากอินเดีย แต่ในประเทศไทยนั้นเกิดในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งนำเข้ามาโดยชาวเปอร์เซีย
              
       แกงมัสมั่นแบบต้นตำรับจะมีรสชาติออกเค็มมัน และนิยมใช้เนื้อวัวมาปรุง ส่วนมัสมั่นของไทยจะมีรสหวานนำ และลดปริมาณเครื่องเทศให้น้อยลง และในปัจจุบันมีการเลือกใช้เนื้อสัตว์ที่หลากหลายมากขึ้น ถือเป็นการปรับรสชาติให้เข้ากับความชื่นชอบของคนไทย
              
       นับได้ว่าอาหารไทย 5 เมนูนี้ เป็นจุดเริ่มต้นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ชาวต่างชาติรู้จักอาหารไทยที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับการที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก และยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย
มัสมั่น เมนูอร่อยที่สุดในโลก

อ้างอิง http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000126254