Blogroll

This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เปิดปฏิทินชนเผ่ามายา 21 ธันวาคม นับถอยหลังสู่วันสิ้นโลก?


คนแห่เสริมดวง วัดป้อมรามัญ  วันที่ 12 เดือน 12 ปี 2012

         เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมากทีเดียว สำหรับปรากฏการณ์ "วันสิ้นโลก" ซึ่งเหลืออีกเพียงไม่กี่วัน ก็จะถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2012 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของปฏิทินชาวเผ่ามายัน สร้างความหวาดวิตกและสะพรึงกลัวให้กับคนทั่วโลกไม่น้อยทีเดียว และต่างพากันตั้งคำถามว่า หรือนี่จะถึงกาลอวสานของมวลมนุษยชาติแล้ว?
         และแม้ว่าจะมีนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ ออกมาระบุแล้วว่า "วันสิ้นโลก" ไม่มีจริง และวันที่ 21 ธันวาคม 2012 ก็เป็นเพียงวันธรรมดาวันหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ยังมีบางคนที่เชื่อและยังส่งต่อจดหมายลูกโซ่ ที่ระบุถึงเหตุการณ์ของ "วันสิ้นโลก" อย่างมากมาย
         และเพื่อตามกระแสของชาวโลก ในวันนี้กระปุกจึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับปฏิทินชนเผ่ามายันมาให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกันค่ะ



 
จะเกิดอะไรขึ้นในวันสิ้นโลก 2012 
         คำถามนี้เป็นปัญหาโลกแตกจริง ๆ เพราะนอกจากจะเกี่ยวกับเรื่องวันสิ้นโลกแล้ว ยังเป็นคำถามที่ไม่มีใครให้คำตอบที่แน่นอนได้ มีเพียงการคาดเดา การผูกโยงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำนายถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันสิ้นโลก เหตุการณ์ที่คาดเดากันว่าจะเกิดและเหตุการณ์ที่เกี่ยวเนื่องมีทั้งเรื่องของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบนดวงอาทิตย์ที่จะเกิดผลกระทบยิ่งใหญ่กับระบบสุริยะ จักรวาล และโลกของเรา ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นจนถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2012 การเปลี่ยนขั้วของขั้วโลกเหนือใต้ ฯลฯ

คําทํานายเผ่ามายา กล่าวไว้ว่าอย่างไร 
         ชาวมายันไม่ได้เขียนชัดเจนว่า วันที่ 21 ธันวาคม 2012 จะเป็นวันสิ้นสุดของโลก มีผู้คนจำนวนมากเชื่อว่า มันคือวันที่โลกจะเปลี่ยนแปลงจากยุคหนึ่งเป็นอีกยุคหนึ่ง และเรามีหน้าที่ที่จะต้องเตรียมรับมือกับวันนั้นให้ได้ เพื่อความอยู่รอดจากการเปลี่ยนแปลง และหลังจากวันนั้นโลกของเราจะมีสันติสุขอย่างแท้จริง

ปฏิทินชาวมายันโดยคร่าว 
         จากปฏิทินของชาวมายัน เรากำลังอยู่ในช่วงปลายของ 1 วันแห่งระบบจักรวาล หรือ End of a Galactic Day ซึ่งระยะเวลา 1 วัน แห่งระบบจักรวาลนั้นยาวนานถึง 25,625 ปี และแบ่งได้เป็น 5 ช่วง ช่วงละ 5,125 ปี และขณะนี้เราอยู่ในช่วงปลายของช่วงที่ 5 แล้ว ชาวมายันบอกว่า นับจากปี 1999 เราจะมีเวลา 13 ปี ที่จะปรับเปลี่ยนทัศนคติและจิตสำนึกของการอยู่บนโลกใบนี้เพื่อที่จะรอดจากการทำลายล้าง และในขณะเดียวกันก็ก้าวสู่เส้นทางที่จิตสำนึกใหม่ปูให้กับการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
         ตามศาสตร์ของชาวมายัน ทุก ๆ 5,125 ปี ดวงอาทิตย์จะเกิดปรากฏการณ์บางอย่างที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางทางช้างเผือกอันกว้างใหญ่ และจากปรากฏการณ์นั้นเอง ดวงอาทิตย์จะได้รับประกายไฟ (Spark of light) ซึ่งทำให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงและส่งผ่านความร้อนรุนแรงมากขึ้น อย่างที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า Solar Flares และยังทำให้ขั้วแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลต่อมายังโลก เกิดการสับเปลี่ยนขั้วโลก และทำให้เกิดหายนะทางธรรมชาติตามมามากมาย 
         ปรากฏการณ์เหล่านี้ ชาวมายันเชื่อว่าเป็นเพียงกระบวนการทางธรรมชาติกระบวนการหนึ่งที่จะเกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างสม่ำเสมอ เปรียบเหมือนการหายใจของคน และจะไม่มีทางเปลี่ยนแปลงหรือหยุดไป เหตุการณ์เหล่านี้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว 4 ครั้ง (4 รอบแรกของปรากฏการณ์จากดวงอาทิตย์) และจะเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 5 เมื่อครบ 5,125 ปี ซึ่งก็คือวันที่ 21 ธันวาคม 2012 นั่นเอง

คนแห่เสริมดวง วัดป้อมรามัญ  วันที่ 12 เดือน 12 ปี 2012
ทำไมต้องเชื่อปฏิทินชาวเผ่ามายัน 
         เป็นที่ยอมรับว่าปฏิทินของชาวมายันมีความเที่ยงตรงอย่างมาก เที่ยงตรงกว่าปฏิทินระบบที่เราใช้กันในสากลมากมาย เพราะชาวมายันทำปฏิทินจากระบบดวงดาว โดยปฏิทินนี้ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอะไรเลยถึง 380,000 ปี (ในขณะที่ปฏิทินที่เราใช้ต้องมี Leap Year ทุก ๆ 4 ปีเป็นต้น)
         แต่ทั้งนี้ วันที่ 21 ธันวาคม 2012 เป็น "วันสิ้นโลก" หรือไม่นั้น มวลมนุษยชาติจะต้องเป็นผู้พิสูจน์เอง...
อารยธรรมของชนเผ่ามายัน 

     ชนเผ่ามายันมาจากไหน?

         นักโบราณคดีหลายคนต่างพยายามศึกษาความเป็นมาของเผ่านี้ จากหลักฐานโบราณคดีที่เหลืออยู่ แต่ก็สับสนอยู่ดีว่าพวกเขามาจากไหนกันแน่มีศิลาจารึกขนาดใหญ่ที่เขียนข้อความอย่างละเอียดตั้งตระหง่านอยู่กลางเมือง ซึ่งแสดงว่าชาวมายันมีภาษาเป็นของตนเองและชอบบันทึกประวัติศาสตร์ แต่น่าเสียดายในข้อความศิลาจารึกนั้นกลับไม่มีผู้ใดสามารถอ่านออกสักคนเดียว
         สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับมายา สันนิษฐานว่า ชาวมายันอาจสืบเชื้อสายมาจากอิสราเอล ไม่ก็กรุงทรอย คาร์เธจ ฮั่น แอตแลนติส ฯลฯ ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ เรียกว่า คูฮุลอะฮอว์ หรือ เทวกษัตริย์
         ชาวมายันมีความสามารถพิเศษที่ไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า พวกเขาไม่ต่างอะไรจากมนุษย์ยุคหิน แต่กลับมีความสามารถทางดาราศาสตร์ สามารถทำนายเวลาเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาได้ล่วงหน้าเป็นเวลานาน รู้จักทำปฏิทินใช้ โดยสามารถคำนวณ ว่า ปีบนดาวศุกร์มีจำนวน 584 วัน และวันของโลกเรามี 365.2420 วัน ซึ่งตามการคำนวณในปัจจุบันปรากฏว่า หนึ่งปี มี 365.2422 วัน ความคลาดเคลื่อนเพียงน้อยนิดทำให้เห็นถึงความแม่นยำแบบไม่น่าเชื่อ
         นอกจากนี้ ชาวมายันนับถือเทพเจ้ามาก และมีเทพเจ้ามากมาย ทั้งสุริยเทพ วสันตเทพ และมรณเทพ เทพเจ้าเหล่านี้ทรงโปรดปรานการเสวยเลือด ดังนั้น เหล่าเชลยศึกสงครามจะถูกชาวมายันฆ่าเพื่อเอาเลือดไปถวายเทพ
อาณาจักรมายาของ ชนเผ่ามายา อยู่ตรงไหน?
         อาณาจักรมายา ตั้งอยู่ในอเมริกากลาง มีพื้นที่บริเวณประเทศเม็กซิโกคาบเกี่ยวกับเบลีซและกัวเตมาลา มีความรุ่งเรืองช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ. 1502 (พ.ศ. 2045) มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่นครวากา ปัจจุบัน คือ เอลเปรู มีอายุร่วมสมัยเดียวกับอารยธรรมเตโอตีอัวกาน (Teotihuac?n) ซึ่งถือว่าเป็นอาณาจักรที่ใหญ่มากเพราะมีพื้นที่กินถึงประเทศคือเม็กซิโก กัวเตมาลา และฮอนดูรัส
         ตามประวัติอาณาจักรแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองไพศาลมาก มีอายุยาวนานนับได้ 2000 ปี ตั้งแต่คริสต์ศักราช 250 อาณาจักรแห่งนี้มีซากสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โตน่าทึ่งที่สุดไว้เป็นมรดกโลก
         อาณาจักรมายาเป็นอาณาจักรแสนยิ่งใหญ่ที่ประกอบด้วยเมืองเอกหลายเมืองด้วยกันมีเมือง สำคัญหลายเมือง คือ เมืองติกัล (Tikal) เพเตน (Peten) ในประเทศกัวเตมาลา ปาเลงกอ (Palenque) ในภาคใต้ของประเทศเม็กซิโก เมืองโคปัน (Copan) ในประเทศฮอนดูรัส เมืองอิทซา (Itzar) อักซ์มัล (Uxmal) และมายาปัน (mayapan) ในบริเวณคาบสมุทรยูคาตัน
         เมืองของอาณาจักรมายาประกอบด้วยชุมชนเกษตรอยู่ชั้นนอก ชุมชนเมืองอยู่ชั้นในล้อมรอบจุดศูนย์กลางซึ่งเป็นบริเวณสิ่งก่อสร้างที่ใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งสิ่งก่อสร้างนั้นมีหลายแบบ เช่น ปิระมิด วิหาร และปราสาทราชวัง ซึ่งสร้างจากศิลาล้วน ๆ บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองของชาวมายันอย่างดี
         ในระหว่างปี ค.ศ. 257 – ค.ศ. 907 (พ.ศ. 800 – พ.ศ. 1450) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยุโรปกำลังตกอยู่ในยุคมืดแห่งอวิชชา แต่สำหรับชาวมายันนั้น ตามประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า ในระยะเวลาดังกล่าวอารยธรรมมายาได้เจริญรุ่งเรืองสุดขีดมาก ๆ ได้สร้างพีระมิด และพระราชวังที่มโหฬารและวิจิตรอลังการมากมาย


 
อาณาจักรมายามีซากสิ่งก่อสร้างหลายแห่ง และแต่ละที่นั้นถูกขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกทั้งสิ้น ดังนี้
             ติกัล (Tikal) มีพีระมิดของชาวมายัน สูง 212 ฟุต บนยอดวิหารมีห้องมากมาย มีแท่นบูชากับหินแกะสลักอักษรภาพเป็นจำนวนมาก ตามฝาผนังของวิหารก็มีรูปสลักเต็มแทบทุกด้าน

             เปเตน (Peten)
             ปาเลงเก (Palenque) มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยปากัล พบหลุมศพจำนวนมากและในวิหารแห่งศิลาจารึก (Temple of the Inscriptions)
             ซีบิลชัลตุน (Dzibilchaltun) มีวิหารขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า The Temple of the Seven Dolls
         แต่ทั้งนี้ ไม่มีคำอธิบายที่แน่ชัดว่า ทำไมอารยธรรมมายาจู่ ๆ กลับเสื่อมสลายลง นักโบราณคดีรู้สึกประหลาดใจมากกับหลักฐานที่ว่าด้วยเหตุผลบางประการชาวมายันได้ละทิ้งเมืองอันรุ่งเรืองของพวกเขาในช่วงเวลานั้น หยุดอารยธรรมที่กำลังเติบโตทั้งหลายไม่มีการถ่ายทอดมายังชนรุ่นหลัง เหลือแต่เพียงซากปรักหักพังอยู่กลางป่าดงดิบในกัวเตมาลา หรือว่าพวกเขาเห็นและรู้และเห็นอะไรบางอย่าง และทิ้งไว้เป็นปริศนา 
 
อ้างอิง  http://hilight.kapook.com/view/79518

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โลก (Earth)

โลก (Earth)  
              โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงโคจรซึ่งใช้เวลา 365.25 วัน  เพื่อให้ครบ 1 รอบ ปฏิทินแต่ละปีมี 365 วัน ซึ่งหมายความว่าจะมี 1/4 ของวันที่เหลือในแต่ละปี ซึ่งทุกๆปีสี่ปีจะมีวันพิเศษ คือจะมี 366 วัน กล่าวคือเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันเหมือนปกติ ตามที่เคปเลอร์ค้นพบวงโคจรของโลกไม่เป็นวงกลม ในเดือนธันวาคมมันจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งมันจะอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โลกจะเอียงไปตามเส้นแกน ในเดือนมิถุนายน ซีกโลกเหนือจะเอียงไปทางดวงอาทิตย์ดังนั้น ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนและซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในเดือนธันวาคมจะเอียงจากดวงอาทิตย์ ทำให้ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวและซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมและกันยายน ซีกโลกทั้งสองไม่เอียงไปยังดวงอาทิตย์ กลางวันและกลางคืนจึงมีความยาวเท่ากัน ในเดือนมีนาคม ซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูใบไม้ผลิ และซีกโลกใต้เป็นฤดูใบไม้ร่วง ในเดือนกันยายน สถานการณ์จะกลับกัน
               โลกมีอายุประมาณ 4,700 ปี   โลกไม่ได้มีรูปร่างกลมโดยสิ้นเชิง เส้นรอบวงที่เส้นศูนย์สูตรยาว 40,077 กิโลเมตร (24,903 ไมล์)และที่ขั่วโลกยาว 40,009 กิโลเมตร (24,861 ไมล์) 

  
              ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ จะมีฤดูกาลเป็นของตนเองและระยะของการโคจร ความยาวของปีดาวเคราะห์เป็นเวลาที่มันหมุนรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบ ถ้าคุณอยู่บนดาวพุธ ปีของคุณจะมีเพียง 88 วันของโลก บนดาวพูลโต ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่นอกสุดหนึ่งปีจะเท่ากับ 248 วันบนโลก
ดวงจันทร์               ดวงจันทร์เป็นบริวารของโลก โคจรรอบโลกทุกๆ 27 วัน 8 ชั่งโมง และขณะเดียวกันก็หมุนรอบแกนตัวเองได้ครบหนึ่งรอบพอดีด้วย ทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์ด้านเดียว ไม่ว่าจะมองจากส่วนไหนของโลก ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มนุษย์เพิ่งจะได้เห็นภาพ เมื่อสามารถส่งยานอวกาศไปในอวกาศได้ บนพื้นผิวดวงจันทร์ร้อนมากในบริเวณที่ถูกแสงอาทิตย์ และเย็นจัดในวริเวณเงามืด ที่พื้นผิวของดวงจันทร์มีปล่องหลุมมากมาย เป็นหมื่นๆหลุม ตั้งแต่หลุมเล็กไปจนถึงหลุมใหญ่มีภูเขาไฟและทะเลทรายแห้งแล้ง
               ดวงจันทร์เป็นดวงดาวใหญ่ที่สุด  และสว่างที่สุดในท้องฟ้ากลางคืน  ดวงจันทร์ส่องแสง  แต่แสงที่ส่องนั้นมิได้เปล่งออกมาจากดวงจันทร์เอง  ดวงจันทร์เมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ก็จะสะท้อนแสงนั้นออกมา  ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  แต่ก็ยังเป็นระยะทางไกลมากคือ  ระยะสิบเท่าของเส้นรอบโลกยังสั้นกว่าระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์

วัฏจักรของดวงจันทร์                เราทราบแล้วว่า ถ้านับเดือนทางจันทรคติ แล้วดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกหนึ่งรอบ กินเวลา 29 1/2 วัน ถ้าเรานับจุดเริ่มต้นของดวงจันทร์ที่วันเดือนดับ (New moon) เป็นช่วงที่ดวงจันทร์ อยู่เป็นเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงจันทร์ทึบแสง คนบนโลกจึงมองไม่เห็นดวงจันทร์ แล้วก็เป็นวันข้างขึ้นทีละน้อย เราจะเห็นดวงจันทร์สว่างเป็นเสี้ยวทางขอบฟ้าตะวันตก และจะเห็นดวงจันทร์ขึ้นสูงจากขอบฟ้าทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออก พร้อมกับมีเสี้ยวสว่างมากขึ้น พอถึงช่วงวันขึ้น 7-8 ค่ำ ดวงจันทร์จะสว่างครึ่งซีกอยู่ตรงกลางท้องฟ้าพอดี (Quarter) วันต่อมาจะเพิ่มเสี้ยวสว่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งวันขึ้น 14-15 ค่ำ ดวงจันทร์จะมาอยู่ตรงเส้น ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ทำให้ดวงจันทร์เกิดสว่างเต็มดวง (Full moon) หลังจากนั้นดวงจันทร์กลายเป็นข้างแรม ดวงจันทร์จะขึ้นช้าไปเรื่อยๆ จนหายไปในท้องฟ้าจะเห็นเดือนดับ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ การเกิดข้างขึ้นข้างแรม เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก 1 รอบ เท่ากับมันโคจรรอบตัวเอง 1 รอบพอดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงซีกเดียวตลอดเวลา 

อ้างอิง  http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phitsanulok/suwicha_p/earth.html

วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

9 อันดับทะเลที่มีชายหาดสวยที่สุดในโลก

9 อันดับทะเลที่มีชายหาดสวยที่สุดในโลก


“ทะเล” สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในหน้าร้อน “ทะเลสวย” มักอยู่ไกล ไปไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินใจและความพยายามของมนุษย์ ยิ่งยาก ยิ่งท้าทาย ยิ่งสวย ยิ่งอยากเห็น “ชายหาดสวย“ ในที่นี้หมายถึงสวยด้วยทัศนียภาพและอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ปราศจากสิ่งปรุงแต่งใดๆ คงรักษาไว้ซึ่งระบบนิเวศน์ .. แอบดีใจลึกๆ และก็แอบหวั่นใจลึกๆ ยิ่งมนุษย์ดั้นด้นเสาะแสวงหา ยิ่งทำให้กลัวว่าสมดุลทางธรรมชาติอาจเสียไป


Seychelles


“หมู่เกาะเซเชลส์” หรือ “สาธารณรัฐเซเชลส์” สววรค์แห่งมหาสมุทรอินเดีย ประกอบด้วยเกาะถึง 115 เกาะ ห่างจากชายฝั่งแอฟริกาทางตะวันออก อยู่ทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ เหมาะเป็นที่เอนกายชาร์ตแบตสำหรับนักท่องเที่ยวที่หลงใหลการนอนเล่นชายหาดอาบแสงอาทิตย์



Cape Town, South Africa


“เคปทาวน์” เมืองเล็กๆ อยู่ทางตอนใต้ของแอฟริกาใต้ เป็นเมืองที่สวยที่สุดและมีเสน่ห์ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก จุดเด่นของเมืองอยู่ที่ภูเขาลูกใหญ่กลางเมืองที่สามารถมองเห็นได้จากทุกสารทิศ รูปทรงแปลกตาคือ มีลักษณะเสมือนโต๊ะที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำให้ภูเขาลูกนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเขาโต๊ะ หรือ Table Mountain



Coronado Beach, California


นักโต้คลื่นมือสมัครเล่นต้องจัดมา Coronado Beach ชายหาดแถบแคลิฟอร์เนีย ซักครั้ง เพราะคลื่นถาโถมสม่ำเสมอ ถ้าได้งัดข้อกันทุกวันจนเอาอยู่ อาจเปลี่ยนท่านเป็นนักโต้คลื่นชั้นเซียนในเร็ววัน



Cumberland Island, Georgia


เอกลักษณ์ของ เกาะ Cumberland รัฐจอร์เจีย คือเหล่าเปลือกหอยน้อยใหญ่ที่คอยสร้างสีสันให้ชายหาด เริ่มแรกเกาะนี้แทบจะไม่มีคนรู้จัก จนกระทั่งมือดีสืบได้ว่า John F. Kennedy Jr. และ Carolyn Bessette แอบมาจัดงานแต่งกันลับๆ ที่นี่ ในปี 1996



Fraser Island, Australia


ภาพน้ำทะเลใสซัดชายฝั่ง “Fraser Island” ออสเตรเลีย สะกดสายตาคนถวิลหาธรรมชาติได้ดีที่สุด เป็นเกาะที่มีหาดทรายกว้างใหญ่ที่สุดในโลก อยู่ไม่ห่างจากชายฝั่งรัฐควีนส์แลนด์นัก



Mykonos Island, Greece


นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมักจะหลงมนต์เสน่ห์ในรูปลักษณ์แห่งสถาปัตยกรรม หาดทรายที่สวยงามตามธรรมชาติไร้ซึ่งการแต่งเติมจากฝีมือมนุษย์ และสีสันแห่งชีวิตชีวายามคำคืนของ “Mykonos Island” เกาะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของประเทศกรีซ



อ่าวมาหยา ประเทศไทย


หลังจาก “หมู่เกาะพีพี” ถูกคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถาโถม “อ่าวมาหยา” ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหาดทรายขาวที่น่าสัมผัสที่สุดแห่งหนึ่ง ก็ได้รับการฟื้นฟูทางธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์และสวยงามอีกครั้ง



Harbour Island, Bahamas


น้ำทะเลสะอาดใสบวกกับกระแสน้ำอุ่นจากอ่าว เกิดเป็นสมดุลทางธรรมชาติ ทำให้ Harbour Island กลายเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาพันธุ์ นักท่องเที่ยวที่รักการผจญภัยจะไม่พลาดการมาเยือน Bahamas



Ocracoke Island, North Carolina


หย่อมหญ้าเป็นจุดๆ ชี้ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ใต้ผืนทรายของชายหาด Ocracoke Island ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานในยุคแรกๆ ของชาวยุโรป Ocracoke เป็นส่วนหนึ่งของ Outer Banks เกาะที่ต้องใช้ความพยายามในการดั้นด้นไปให้ถึง จึงเป็นที่ดึงดูดของนักแสวงหาธรรมชาติ


ที่มา : http://www.nationalgeographic.com/  และ  http://travel.mthai.com/world-travel/14083.html

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

10 อันดับ น้ำตกที่สวยที่สุดในโลก

อันดับ 10

Jog Falls
น้ำตก JOG ซึ่งมีความสูงถึง 253 เมตร น้ำตกนี้เกิดจากแม่น้ำ Sharavathiเปลี่ยนระดับจากที่สูงถึง 253 เมตร เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในอินเดีย ตั้ง อยู่ที่เมือง Shimoga รัฐ Karnataka ในอินเดีย อีกหลายๆชื่อที่เรียกกันคือ Gerusoppe falls หรือ Gersoppa Falls และ Jogada Gundi
อันดับ 9

Huangguoshu
น้ำตกหวางกว่อฉู้ (Huangguoshu Falls) อยู่ในมณฑลกุ้ยโจว เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน น้ำตกกว้าง 50 เมตร สูงถึง 75 เมตร เคยใช้เป็นที่ถ่ายทำถ้ำของพวกซุนหงอคง ชุดไซอิ๋วในทีวี นักท่องเที่ยวสามารถเดินลอดม่านน้ำตกได้ตลอดโดยไม่เปียก
อันดับ 8

Gullfoss
น้ำตกกุลล์ฟอสส์ (Gullfoss) ถือว่าเป็นน้ำตกมีชื่อแห่งหนึ่งในจำนวนสถานที่ท่องเที่ยว ๆ หลายแห่งของประเทศนี้ และยังจัดว่าเป็นหนึ่งใน 3 ที่ไอซ์แลนด์จัดให้อยู่ใน “วงกลมทองคำ” ด้านบนของน้ำตกจะมีพื้นที่ประมาณ 1 กิโลเมตร และค่อย ๆ หักเป็นมุมโค้ง คล้าย ๆ บรรไดวน 3 ขั้น เอียง ลาดลดระดับลงไปเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก 11 เมตร และช่วงที่ 2 สูง 21 เมตร พร้อมมีรอยแยกอันเป็นทางเดินของน้ำกว้างประมาณ 20 เมตร ลึก 32 เมตร ยาวโดยรวมประมาณ 2.5 กิโลเมตร
อันดับ 7

Detian Falls
น้ำตกเต๋อเทียน (De Tian) ตั้งอยู่กลางพรมแดนระหว่างจีนกับเวียดนามในเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงกวางสี กว้างกว่า 100 เมตร ลึกกว่า 60 เมตร ความสูงลดหลั่นกันประมาณ 50 เมตร เป็นน้ำตกธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดว่าเป็นน้ำตกระหว่างประเทศใหญ่ เป็นอันดับสองของโลก
อันดับ 6

Blue Nile Falls
น้ำตกสูงและใหญ่มากชื่อ Blue Nile waterfall เป็นน้ำตกที่มาจากแม่น้ำไนล์ อยู่ในประเทศเอธิโอเปีย รู้จักในชืิ่อ Tis Issat (Smoking Water)
อันดับ 5

Kaieteur Falls
น้ำตกบนแม่น้ำโปตาโร อยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของประเทศกายอานา น้ำตกลงมาด้วยความเร็วประมาณ 663 คิวบิคเมตรต่อวินาที (23,400 คิวบิคฟุตต่อวินาที) ด้วยความสูง 226 เมตร (741 ฟุต) สูงกว่าน้ำตกไนแอการาประมาณ 5 เท่า และสูงกว่าน้ำตกวิคทอเรียประมาณ 2 เท่า
อันดับ 4

Angel Falls
น้ำตก Angel Falls มีความสูงถึง 979 เมตร (3,212 ฟุต) ตั้งอยู่ที่ Canaima National Park ประเทศเวเนซูเอลา ความสูงของน้ำตกแห่งนี้สูงกว่าน้ำตก Niagara ถึง 19 เท่า น้ำตกแห่งนี้ไหลลงสู่แม่น้ำ Kerep ด้วยระดับความสูง เกือบ 1 กิโลเมตร ทำ ให้น้ำซึ่งตกลงมาถูกลมแรงพัดให้เป็นละอองน้ำก่อนจะถึงพื้นดิน ทำให้น้ำตกแห่งนี้ ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในน้ำตกที่มีความสวยงามมากที่สุดในโลก
อันดับ 3

Niagara Falls
น้ำตกไนแอการา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่หลายแห่งประกอบกัน ตั้งอยู่บนแม่น้ำไนแอการาทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ บนพรมแดนระหว่าง ประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา น้ำตกไนแอการาประกอบด้วยน้ำตกสามแห่งที่แยกออกจากกัน คือ น้ำตกเกือกม้า (Horseshoe Falls บางครั้งก็เรียก น้ำตกแคนาดา) สูง 158 ฟุต, น้ำตกอเมริกาสูง 167 ฟุต, และน้ำตกขนาดเล็กกว่าที่อยู่ติดกัน คือน้ำตก Bridal Veil. แม้ น้ำตกไนแอการาจะไม่สูงอย่างโดดเด่น แต่ก็กว้างมาก
อันดับ 2

Victoria Falls
น้ำตกวิคตอเรีย (Victoria Falls) น้ำตกที่ใหญ่และสวยงามติดอันดับโลก น้ำตกวิคตอเรียมีความยาวถึงเกือบ 2 กิโลเมตร และมีเนื้อที่ ครอบคลุมถึงสองประเทศ คือ ซิมบับเว และแซมเบีย ความลึกของน้ำตกแห่งนี้เริ่มตั้งแต่ 90-108 เมตร
อันดับ 1

Iguazu Falls
น้ำตกอีกัวซู (Iguazu) เป็นน้ำตกที่เกิดจากแม่น้ำอีกัวซู (Iguazu) ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนประเทศบราซิล รัฐ Parana และประ เทศอาร์เจนติน่า จังหวัด Misiones น้ำตกอีกัวซู เป็นหนึ่งใน the New7Wonders of Nature ของโลก น้ำตกนี้มีความสูง 62 – 82 เมตร มีทั้งหมด 275 น้ำตก เรียงราย อยู่ในอาณาบริเวณใกล้เคียงกัน มีความยาวทั้งสิ้น 2.7 กิโลเมตร

อ้างอิง  http://top10.upyim.com/10-%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ไวรัสในแฟลชไดร์ฟ

วิธีฆ่าไวรัสในแฟลชไดร์ฟ

ในปัจจุบันนี้เราคงปฎิเธสไม่ได้ว่า แฟลชไดร์ฟ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งไปแล้ว ซึ่งหลายคนก็ต้องมีพกติดตัวตลอดเวลา พอๆกับการพกโทรศัพท์มือถือ เพราะมันสามารถบันทึกข้อมูลได้เยอะแยะไปหมด ทำให้เราใช้งานง่าย เมื่ออยากได้ข้อมูลที่เครื่องโน้น เครื่องนี้ก็สามรถเสียบแล้วดึงข้อมูลมาได้เลย ซึ่งการกระทำแบบนี้ๆแหละที่ทำให้เจ้าไวรัสตัวร้ายตัวนี้แพร่กระจายไปอย่างง่ายดายหรือเกิน เราจึงต้องหาวิธีการกำจัดเจ้าตัววายร้ายตัวนี้ ก่อนที่มันจะมาทำลายข้อมูลในเครื่องของเรา
 
ก่อนที่เราจะกำจัดไวรัสตัวร้ายตัวนี้ไปจากเราได้นั้น เราก็ต้องรู้ก่อนว่าแฟลชไดร์ฟที่เราใช้งานมันทุกวี่ทุกวันนี้ได้ติดไวรัสมาหรือไม่ ขั้นแรกให้ตรวจเช็คแฟลชไดร์ ตามวิธีต่อไปนี้
  1. กด Shift ค้างขณะเสียบแฟลชไดร์ฟประมาณ 10 วินาที
  2. Double Click ที่ My computer
  3. คลิกขวาที่แฟลชไดร์ฟถ้าปรากฎคำว่า Open อยู่บนสุด แสดงว่า แฟลชไดร์ฟไม่มีไวรัส แต่ถ้าปรากฎคำว่า Auto Play อยู่บนสุดแสดงว่ามีไวรัส หรือ  Double Click  ที่แฟลชไดร์ฟ แล้วปรากฎคำว่า Open with ก็แสดงว่ามีไวรัสอยู่เช่นเดียวกัน
 
เมื่อเราได้ตรวจเช็คแฟลชไดร์ฟแล้ว ปรากฎว่าแฟลชไดร์ฟนั้นมีไวรัส เรามีวิธีฆ่าไวรัสแบบง่ายๆที่ใครก็สามารถทำได้มาฝากกันดังนี้
  1. Double Click เพื่อเปิด My computer ขึ้นมา
  2. Double Click เพื่อเปิด USB Drive
  3. คลิกเลือก Tools
  4. คลิกเลือก Folder Options
  5. เลือก View
  6. คลิกเลือก Show hidden files and folders
  7. คลิกที่ปุ่ม Hide extensions for known file types เพื่อทำการเลือกออก
  8. คลิกที่ปุ่ม Hide protected operating system files เพื่อทำการเลือกออก  กด Apply แล้วกด OK (จะปรากฎ Folder เป็นเงา ๆขึ้น (นั่นคือไวรัส))
  9. คลิกเลือก Recycled system Volume information Autorlin.inf msvcr71.dll (Folder ไวรัสจะปรากฎขึ้น)
  10. กด Delete เพื่อฆ่าไวรัส
  11. ขั้นสุดท้ายนี้คือการตรวจแฟลชไดร์ฟอีกครั้ง  ว่าไวรัสได้หายไปหรือไม่
 
         ข้อควรระวัง ในการใช้งานแฟลชไดร์ฟ คือ เราต้องหมั่นอัพเดทโปรแกรมแอนตี้ไวรัสเสมอ เพื่อเป็นการปกป้องเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และเราไม่ควรใช้แฟลชไดร์ฟร่วมกับคนอื่น ถ้าจำเป็นก็ให้ขยันสแกนไวรัส โดยไม่ปล่อยให้มันลุกลาม และมีอาการหนัก  เราขอแนะนำโปรแกรมจัดการกับไวรัส ดังนี้
o      Trend Micro Sysclean Package
o      avast! Virus Cleaner Tool
o      Cureit Scaner for Windows
o      Ad-Aware SE Professional Build 1.06r1
o      ClamWin Free Antivirus Version 0.93.1
o      RemoveIT Pro v4 – SE
เพียงเท่านี้ เราก็ใช้ แฟลชไดร์ฟ อย่างสะบายใจได้แล้ว โดยไม่ต้องคอยระแวงว่า แฟลชไดร์ฟและคอมพิวเตอร์ของคุณจะโดนไวรัสอีกต่อไป

อ้างอิง  http://teen.mthai.com/lifesgood/hitech/1112.html

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

THE IMPOSSIBLE

THE IMPOSSIBLE (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) : 2004 สึนามิ ภูเก็ต
ถ่ายทำในสถานที่จริง นาน 2 ปี ปิดเมืองภูเก็ตถ่ายฉากใหญ่เรียกน้ำตา
สึนามิถล่มกลางเมือง


หลังจากที่สร้างสถิติใหม่ ด้วยการทำรายได้เปิดตัวอย่างถล่มทลายในประเทศสเปนเป็นที่แรกในโลกไปเรียบร้อยแล้ว ภาพยนตร์ THE IMPOSSIBLE (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) หรือชื่อไทยว่า 2004 สึนามิ ภูเก็ต ก็ได้กลายเป็นหนังที่โดนใจทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ จนได้รับเสียงชื่นชมว่า นี่คือภาพยนตร์ที่ควรค่าต่อการชมมากที่สุดในปีนี้ โดยเฉพาะให้จับตาดูการแสดง ของ ยวน แม็กเกรเกอร์ และ นาโอมิ วัตต์ ในหนังเรื่องนี้ไว้ให้ดี เพราะคนทั้งคู่ ได้ฝากการแสดงในระดับสุดยอด ที่ จับหัวใจคนดูเอาไว้อีกด้วย ในฉากที่เรียกได้ว่าเป็นฉากใหญ่ของเรื่อง โดย ฮวน อันโตนิโอ บาโยน่า ผู้กำกับ ได้ถ่ายทำฉากนี้ทั้งหมดในภูเก็ต โดยการสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ทั้งเมือง เพื่อใช้เป็นโลเกชั่นฉากจังหวัดภูเก็ตที่ถูกทำลาย โดย มหันตภัยคลื่นยักษ์ สึนามิ ในปี 2004 หนังใช้เวลาการเตรียมงานและถ่ายทำนานกว่า 2 ปี เพื่อที่จะสร้างฉากสึนามิถล่ม ทางทีมงานต้องใช้ทีมสเปเชี่ยลเอฟเฟ็คถึงหกทีม และใช้เวลากว่าหนึ่งปีในการสร้างฉากที่กินเวลา 10 นาที ที่เกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของหนังและใช้น้ำจำนวนกว่า 35,000 แกลลอนในแต่ละวัน เมื่อรวมกันแล้วจำนวนน้ำที่ถูกใช้ไปเทียบได้กับจำนวนน้ำในมหาสมุทรเลยทีเดียว
The Impossible (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) คือภาพยนตร์ที่สร้างจากเหตุการณ์ที่โลกไม่เคยลืม ของวันที่ 26 ธันวาคม 2004 วันมหาวิปโยคที่ก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญของโลก เมื่อแผ่นดินไหวขนาด 9 ริคเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่มเข้าชายฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยและภายในเวลาเพียงแต่ 10 นาที ได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่าห้าพันคน สูญหายอีกกว่าสองพัน และเด็กๆ กว่า 1,400 ชีวิตต้องกลายเป็นลูกกำพร้า นี่คือหายนะทางธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศ โดยหนังสร้างจากเรื่องจริงของครอบครัวชาวอมเริกัน 5 ชีวิต เฮนรี่ มาเรีย สองสามีภรรยาและลูกชายทั้งสามคน ประกอบไปด้วย ลูคัส, ไซม่อน, และ โทมัส ที่เดินทางมาฉลองเทศกาลคริสต์มาส ในปี 2004 ที่ จ.ภูเก็ต และเผชิญหน้ากับมหันตภัยสึนามิในระยะประชิด และแม้จะรอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ แต่ระหว่างทางพวกเขาต้องผ่านการพลัดพรากตามหา และ เผชิญหน้ากับชะตากรรมที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนจนได้กลับมาพบกันอีกครั้งหนึ่ง …… ด้วยสิ่งนำทางเพียงอย่างเดียวที่มีชื่อว่า “พลังใจ”

29 พฤศจิกายนนี้ … เตรียมแรงใจให้พร้อมก่อนเข้าไปชม
THE IMPOSSIBLE (ดิ อิมพอสสิเบิ้ล) : 2004 สึนามิ ภูเก็ต
ทุก โรงภาพยนตร์

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ซีพียู (CPU)

ซีพียู (CPU)
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น

CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที
 
กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation
 
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation
ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

ซีพียู คืออะไร ?
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น
CPU ทำหน้าที่อะไร

CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที


กลไกการทำงานของซีพียู

การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น




ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู

ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เคส คอมพิวเตอร์

เคส คอมพิวเตอร์ – computer case

 

เคส คอมพิวเตอร์ ก็คือกล่องสำหรับบรรจุอุปกรณ์ต่าง ๆ ของ คอมพิวเตอร์ เอาไว้ข้างใน เพื่อประโยชน์ในการยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความมั่นคง กะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้ ขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้องกันไฟดูด ป้องกันอุปกรณ์สูญหาย และการป้องกันการส่งคลื่นรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
ชนิดของ เคส คอมพิวเตอร์
ชนิดของ เคสคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะแบ่งตามขนาด และลักษณะของมัน ซึ่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
•  ประเภทวางยืน หรือ Tower
•  ประเภทวางนอน หรือ Desktop บางทีเราก็เรียกว่าแบบตั้งโต๊ะ แต่ก็อาจจะสับสนกับประเภทแรก เพราะตั้งบนโต๊ะเหมือนกัน
ประเภท วางยืน หรือ ทาวเวอร์ – Tower
ประเภทนี้ยังแบ่งเป็นประเภทย่อยได้อีก คือ
•  มินิทาวเวอร์ – Mini Tower
ข้อดีของประเภทนี้ คือ มีขนาดกะทัดรัด จะวางบนโต๊ะ หรือ ใต้โต๊ะก็สะดวก แต่ข้อเสีย คือจะ เพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปอีกค่อนข้างลำบาก เพราะพื้นที่ภายในแคบ อาจจะใส่ฮาร์ดดิสก์เพียงตัวเดียว หรือเพิ่มการ์ดต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ตาม เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้มักจะได้รับความนิยมในสำนักงาน เพราะประหยัดพื้นที่ ขณะเดียวกัน งานในสำนักงานก็มักเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ขีดความสามารถของเครื่อง คอมพิวเตอร์ สูงอยู่แล้ว
•  มิดทาวเวอร์ – Mid Tower
เคส รุ่นนี้ เป็น เคส ขนาดกลาง ซึ่งจะมีเนื้อที่ในการเพิ่มอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไปได้มากกว่า ขณะเดียวกันก็ยังไม่ได้มีขนาดที่ใหญ่เกินไป ยังเหมาะสมที่จะวางบนโต๊ะทำงานได้ รุ่นนี้มักเป็นที่นิยมของผู้ประกอบเครื่อง คอมพิวเตอร์ ด้วยตนเอง หรือจ้างให้ร้านประกอบให้ แม้กระทั่งในสำนักงานก็ยังนิยมใช้รุ่นนี้เหมือนกัน
•  ฟูล ทาวเวอร์ – Full Tower
เป็น เคสคอมพิวเตอร์ รุ่นใหญ่ ซึ่งผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอมพิวเตอร์ หรือนักเล่นเกม จะนิยมประเภทนี้ เพราะใส่อุปกรณ์ได้มาก และระบายความร้อนได้ดีกว่า แต่ราคาก็ย่อมสูงตามไปด้วย ข้อเสียของมันคือมีขนาดใหญ่ จึงไม่ค่อยจะเหมาะที่จะวางบนโต๊ะ ผู้ใช้จึงมักหาที่วางใต้โต๊ะ หรือข้างโต๊ะ เคสคอมพิวเตอร์ ขนาด นี้ยังเอาไปทำเป็นเครื่อง เซอร์เวอร์ (Server) สำหรับบริการเครื่อง คอมพิวเตอร์ อื่น ๆ ด้วย
ประเภทเดสก์ทอป – Desktop
วัตถุประสงค์ของ เคส ประเภท นี้ เพื่อประหยัดพื้นที่ โดยเอาจอภาพวางซ้อนด้านบน ข้อเสียของมันคือจะเพิ่มเติมอุปกรณ์อีกแทบไม่ได้เลย อย่างไรก็ตาม เคส ประเภทนี้ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในธุรกิจต่าง ๆ อยู่ เฉพาะอย่างยิ่ง คอมพิวเตอร์ ที่อยู่บนเคาน์เตอร์ หรืออยู่บนโต๊ะขนาดเล็ก
สลิม เดสก์ทอป – Slim Desktop
เคสคอมพิวเตอร์ ประเภทนี้ มักใช้ในหน่วยงานขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้ คอมพิวเตอร์ จำนวนมาก การออกแบบระบบ คอมพิวเตอร์ ก็ให้ประมวลผลที่เครื่อง เซอร์เวอร์ หรือ เมนเฟรม การเก็บข้อมูลก็เก็บที่ศูนย์ข้อมูล แทนที่จะเก็บที่เครื่องลูก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมาย และสามารถประหยัดการลงทุนกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ได้มาก เมนบอร์ดและซีพียู ก็อาจใช้ประเภทขนาดเล็ก กินไฟน้อย อุปกรณ์ต่าง ๆ อาจรวมเป็นชิ้นเดียว บนเมนบอร์ดเลย ซึ่งจะเรียกว่าเป็นเครื่อง workstation มากกว่าที่จะเรียก PC หรือ Personal Computer

อ้างอิง http://www.enlight.co.th/index.php?option=com_content&task=view&id=64